ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า โลกของการเรียนรู้ มีพื้นที่มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน ผู้เรียนมีตัวเลือกในการเรียน และ มีตัวเลือกของผู้สอนที่มาก โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้เรียนเลือกผู้สอน เหตุผลหลักส่วนใหญ่นั้นมาจาก ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของผู้สอน ว่าผู้สอนมีทักษะในการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจ และสนใจ ได้มากน้อยเพียงใด
โดยในวันนี้ เราจะมาแนะนำ เทคนิคการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียน สนใจการเรียนการสอนของคุณมากขึ้น ซึ่งเทคนิคการสอนมีหลักการง่ายๆ เพียง 5 ข้อ ได้แก่
1.ใช้สื่อประกอบการสอน หรือการปฎิบติจริงแทนการท่องจำ
2. ไม่อ่านตามสไลด์ หนังสือ ชีท
3. มีทักษะในการพูด
4. จัดเตรียมการสอน
5. มีกิจกรรมระหว่างการสอน
1. ใช้สื่อประกอบการสอน หรือการปฎิบติจริง แทนการท่องจำ
สิ่งที่ผู้เรียนพยายามหลีกเลี่ยงมากที่สุดคือ การเรียนการสอนแบบท่องจำ เพราะนอกจาก จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายแล้ว การท่องจำก็ยังเป็นการเรียนรู้ที่จดจำได้แค่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
แล้วการใช้สื่อประกอบการสอน หรือการปฎิบัติดีกว่ายังไง ?
“ ความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจ….ย่อมสร้างผลลัพธ์ที่ดีกว่า ”
การสอนมีหลากหลายรูปแบบ การสอนที่ให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติจริง จะช่วยผู้เรียนสามารถรู้ถึงวิธีการ และขั้นตอนได้อย่างแท้จริง เกิดความเข้าใจที่มาจากตัวผู้เรียนเอง แต่หากเรื่องที่ผู้สอน ต้องการสอนนั้น ไม่สามารถนำไปปฎิบัติได้ การยกตัวอย่าง หรือ การเปิดสื่อวิดีโอ รูปภาพเข้ามาประกอบ รวมถึง ยกเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นมาเล่า ก็ช่วยให้ ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องนั้นได้มากขึ้นมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น การสอนวิชาประวัติศาสตร์ นำเรื่องราวของภาพยนตร์ในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง เข้ามาเปิดประกอบ ก็จะช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจและมองเห็นภาพได้มากขึ้น
การสอนรูปแบบนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในเรื่องนั้นได้อย่างแท้จริง ส่งผลลัพธ์ที่ดีให้ทั้งกับผู้เรียนและตัวผู้สอน เราจึงอยากให้ผู้สอนหลายๆท่าน ลองเปลี่ยนวิธีการสอน จากสอนแบบท่องจำ มาเป็น ความรู้ที่เกิดจากความเข้าใจจริงๆ เชื่อว่าผู้เรียนหลายๆ คนจะต้องชอบอย่างแน่นอน !
2. ไม่อ่านตามสไลด์ หนังสือ ชีท
อีกวิธีการสอน ที่ผู้เรียนพากันเบื่อหน่ายไปตามๆ คือ การที่ผู้สอนอ่านตามสไลด์ หนังสือ หรือชีท โดยไม่เจาะจงเนื้อหาที่สำคัญ หรือประเด็นที่น่าสนใจมาสอน ผู้สอนบางท่านคงเคยเจอเหตุการณ์ เมื่อเริ่มสอนแล้ว ผู้เรียนไม่สนใจ และ ไม่ได้อยากเรียนรู้ไปกับสิ่งที่ ผู้สอนกำลังสอนอยู่
แล้วมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ?
“ เปลี่ยนการสอนแบบอ่านสไลด์…เป็นการพูดคุยกับผู้เรียน ”
ความรู้ที่คุณกำลังจะสอน นั้นมาจากตัวของผู้สอนเอง ดังนั้น ผู้สอนพูดในสิ่งที่ตัวเองต้องการสอน โดยไม่ต้องอ่านตามสไลด์ อาจจะมีการจดหัวข้อสำคัญ ที่ต้องการสอน เนื้อความรู้ที่พูดน้อย แต่ได้มาก ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในสิ่งที่คุณกำลังจะสอน มีการพูดคุยกับผู้เรียน ช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายจากการเรียน เพียงเท่านี้ผู้เรียนหลายๆ ท่าน ก็จะไม่รู้สึกเบื่อหน่าย และสนใจในสิ่งที่คุณสอนมากขึ้น
3. มีทักษะในการพูด
“ พูดดี..มีชัยไปมากกว่าครึ่ง ”
ทักษะการพูดคือสิ่งที่ผู้สอนทุกคนควรมี ! เราจะเห็นได้จากนักพูดหลายๆท่าน ที่ประสบความสำเร็จจากการมีทักษะการพูดที่น่าสน สามารถดึงดูดคนได้ ดังนั้น หากผู้สอนมีทักษะเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจการเรียนการสอนของท่านมากขึ้น โดยเรามีเทคนิคการพูดสำหรับผู้สอน มีข้อปฎิบัติ ง่ายเพียงนิดเดียว คือ
เว้นจังหวะเวลาจะพูดเรื่องสำคัญ
ระหว่างการสอน จุดไหนของที่ที่ต้องการเน้นกับผู้สอน ควรเว้นจังหวะก่อนพูด จะช่วยทำให้เรื่องราวน่าสนใจ มากขึ้น โดยหยุดอีกหนึ่งจังหวะหลังพูด เพื่อให้ผู้ฟังมีเวลาในการคิดตาม และได้ไตร่ตรองถึงความสำคัญของเรื่องที่เราเพิ่งพูดไป
การใช้ Body Language
การใช้ท่าทางประกอบการเล่าเรื่อง จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจในสิ่งที่คุณกำลังสอนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างบรรยากาศของการเรียนที่ไม่ตึงครียดมากจนเกินไป
ใช้ระดับเสียงสร้างความน่าสนใจ
ระดับของเสียงที่ผู้สอน พูดออกไป นอกจากจะทำให้เรื่องราวที่เราพูดฟังดูไม่ราบเรียบและน่าฟังมากขึ้นแล้ว และยังสามารถช่วยให้ ผู้สอน สื่อสารออกไปได้ตรงตามความต้องการมากขึ้นด้วย เช่น ขึ้นเสียงสูงเล็กน้อยเวลาที่ผู้สอนจะพูดเรื่องสำคัญ เพื่อเรียกความสนใจจากผู้ฟัง
เพียงคุณนำเทคนิคการพูดเหล่านี้ไปใช้ในการเรียนการสอน ก็จะช่วยให้ เรื่องที่คุณกำลังสอนน่าสนใจมากขึ้น
4. จัดเตรียมการสอน
” วิธีลดข้อผิดพลาดได้ดีที่สุด…คือการรู้จักวางแผนอย่างรอบครอบ “
ก่อนการสอนทุกครั้ง คุณควรจะเตรียมตัวให้พร้อม ลำดับเรื่องที่่ต้องการสอน วางแผนความต่อเนื่องของเรื่องที่จะสอน มีการสรุปประเด็นสำคัญหลักๆไว้สำหรับผู้เรียน หา เทคนิคการสอน ใหม่ๆ ไปใช้กับผู้เรียนอยู่เสมอ ผู้เรียนส่วนใหญ่จะรู้สึกดี หากคุณมีการเตรียมตัวก่อนการสอนมาเป็นอย่างดี
เพราะหากคุณไม่มีการเตรียมตัวก่อนการสอน สอนวนไปวนมา ไม่มีการสรุปเนื้อหา ผู้เรียนจะรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณกำลังสอน ดังนั้นวางแผนก่อนการสอนทุกครั้ง เข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการจะสอนให้มากที่สุด
5. มีกิจกรรมระหว่างการสอน
ในระหว่างการสอน การมีกิจกรรมสอดแทรก จะช่วยให้ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ทั้งยังได้ความรู้ไปพร้อมกับความสนุกสนาน โดยกิจกกรม อาจจะมีหลายรูปแบบทั้ง แบบเดี่ยว แบบคู่ หรือ แบบกลุ่ม ซึ่งการเรียนการสอนแบบทำกิจกรรมนั้น เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
จาก เทคนิคการสอน ทั้ง 5 ข้อแล้ว ทั้งหมดเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้สอนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ยากที่ผู้สอน จะนำไปปฎิบัติทำตาม หากผู้เรียนมีผลตอบรับที่ดีขึ้น ก็เป็นผลดีทั้งกับตัวผู้เรียน รวมถึงตัวผู้สอนเองอีกด้วย.
บทความแนะนำ
7 ข้อดีของการสร้างคอร์สออนไลน์
ทำไมคอร์สออนไลน์ถึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ? เพราะการสร้างคอร์สออนไลน์นั้น…
ติดตามข้อมูลข่าวสารดีๆ เพิ่มเติม ได้ที่